fbpx

งดบริการให้ผู้ที่อายุต่ำกว่า 20 ปี อ่านนโยบายการขาย คลิก

ติดต่อเราเพื่อสอบถาม

แอด LINE สั่งเลย

*สำหรับแค่ลูกค้านิติบุคคลเท่านั้น

Please add Image or Slider Widget in Appearance Widgets Page Banner.
If you would like to use different Widgets on each page, we reccommend Widget Context Plugin.

Great French Wine Blight วิกฤตแมลงล้างองุ่นฝรั่งเศส

February 24, 2021

ย้อนกลับไปเมื่อประมาณ 150 ปีที่แล้ว เกิดภัยพิบัติครั้งใหญ่ที่เกือบจะล้างองุ่นผลิตไวน์ในฝรั่งเศสออกไปจนหมดสิ้น และพลิกผันอุตสาหกรรมไวน์ฝรั่งเศส ตั้งแต่อดีต จนมาส่งผลในปัจจุบันนี้เลยครับ โดยต้นต่อของปัญหาใหญ่หลวงนี้ มีที่มาจากแมลงตัวเล็กจิ๋ว มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น… มันเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นได้อย่างไร? วันนี้ไวน์แมนจะพาคุณมาย้อนรอย ไปเรียนรู้เกี่ยวกับวิกฤติแมลงมหาภัย ที่เกือบทำให้เราไม่มีไวน์ฝรั่งเศสมาดื่มกันเหมือนในปัจจุบันนี้แล้วครับ!

 

ไวน์แนะนำ

ปฐมบท

 

ช่วงปี 1600’s ที่เริ่มมีการนำสายพันธุ์องุ่นจากยุโรปตระกูล Vitis vinifera เข้าไปปลูกในประเทศอเมริกาทางเวสท์โคสต์ รัฐฟลอริด้า ผลปรากฎว่ามีรายงานว่าปลูกอย่างไร องุ่นที่ได้จากฝรั่งเศส ก็ไม่สามารถเติบโตได้ดี จึงมีความเชื่อที่ว่าองุ่นจากยุโรป สามารถเติบโตได้ในแผ่นดินยุโรปเท่านั้น โดยมีนักวิทยาศาสตร์ทั้งชาวยุโรป และอเมริกามากมาย พยายามจะหาคำตอบ โดยตั้งข้อสันนิษฐานมากมาย ตั้งแต่ สภาพดิน สภาพอากาศ และวิธีการปลูกองุ่นของชาวไร่อเมริกา

 

เพราะความอยากรู้อยากเห็นของพ่อค้าฝรั่งเศส และอเมริกา ที่เริ่มมีการไปมาหาสู่กันมากขึ้นเมื่อเข้าสู่ปี 1800’s ทำให้มีการเริ่มทดลองนำต้นองุ่นจากอเมริกา เข้ามาลองปลูกในฝรั่งเศส เพื่อพิสูจน์ที่มาว่าทำไมแผ่นดินอเมริกาจึงปลูกองุ่นจากฝรั่งเศสไม่ขึ้น โดยส่วนหนึ่งได้นำต้นองุ่นเข้ามาอย่างผิดกฎหมาย ไม่ได้ตรวจสอบก่อน

 

จุดเริ่มต้น

 

ปี 1863 เริ่มมีรายงานถึงอาการป่วยแปลกประหลาดของต้นองุ่นที่เมือง Languedoc ที่อยู่ทางใต้ของประเทศฝรั่งเศส โดยต้นองุ่นมีอาการแห้งเหี่ยว โดยเฉพาะที่ราก ซึ่งลีบตีบจนไม่สามารถยึดต้นขององุ่นได้ แต่ก็ยังไม่ได้รู้เหตุผลแน่ชัด จึงไม่ได้มีมาตรการเคร่งครัดเพื่อมาควบคุมสถานการณ์ ทำให้ในไม่ช้าต้นองุ่นไร่ข้างๆ เริ่มมีอาการแบบเดียวกัน แผ่กระจ่ายไปเป็นวงกว้าง

 

ความเสียหาย

 

ตั้งแต่ต้นปี 1860-1875 ไม่ต่ำกว่า 15 ปี โรคปริศนานี้ได้โจมตีไร่องุ่นจนวอดวาย ผลผลิตลดลงกว่า 40% ! ซึ่งพืชอื่นๆ เช่นมะเดื่อ และต้นอ้อยก็ได้ผลกระทบ แต่ไม่หนักเท่าองุ่นครับ สร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจมหาศาล หากตีเป็นมูลค่าเสียหายแบบปัจจุบันก็อาจประมาณ 10,000 ล้านฟรัง เลยครับ 

 

นอกจากนั้นยังเกือบทำให้องุ่นบางสายพันธุ์สูญพันธุ์ไปโดยสิ้นเชิง โดยเฉพาะ Carménère ที่เคยปลูกอย่างแพร่หลายในเบอร์โดซ์ แต่ตอนนี้แทบหาไม่ได้แล้วในฝรั่งเศส หากไม่ใช่เพราะพ่อค้าชิลีที่นำ Carménère สลับกับ Cabernet Sauvignon แล้วนำไปปลูกที่ชิลี Carménère ก็อาจจะหายไปเลยแบบถาวรก็ได้ครับ!

 

วิธีแก้ปัญหา

 

นักวิทยาศาสตร์เริ่มได้เบาะแสเมื่อปี 1868 เมื่อมีการค้นพบแมลงปรสิตเล็กๆ บนรากของต้นองุ่น เป็นแมลงที่ไม่เคยพบเจอในฝรั่งเศสมาก่อน จนกระทั้งมีศาสตราจารย์ด้านพฤษศาสตร์ชาวอังกฤษมายืนยันว่าปรสิตเล็กจิ๋วที่แทบจะมองด้วยตาเปล่าไม่ได้นี้มีชื่อว่า phylloxera เป็นแมลงมีปีกขนาดเล็ก มาจากอเมริกาเหนือ เป็นญาติๆ กับตัวเพลี้ยอ่อน มีขนาดเล็กจนเกือบมองไม่เห็น ชอบดูดสารอาหารจากรากต้นองุ่น และทำให้รากเกิดราขึ้น จากนั้นจึงย้ายไปสู่ต้นองุ่นต่อๆ ไปอย่างรวดเร็วครับ

 

เมื่อรู้ว่าปัญหามาจากแมลง เกษตรกรจึงค่อยๆ เริ่มหาหนทางแก้ปัญหา วิธีแรกคือการใช้ยาฆ่าแมลงและสารเคมี ซึ่งก็ไม่ประสบผลสำเร็จ กลับทำให้ต้นองุ่นและดินเสียหายหนักเข้าไปอีก

 

ต่อมาคือการใช้วิธีแบบธรรมชาติ เริ่มเอาไก่หรือเป็ดมาเลี้ยงโดยหวังว่าเจ้าสัตว์ปีกจะช่วยจิกกินแมลงให้หายไป จนไปถึงเกษตรกรบางคนที่พยายามเลี้ยงกบ หรือคางคงชนิดที่อาศัยในดิน เพื่อให้ทำการกินตัวอ่อนของแมลงร้าย… แต่ก็ล้มเหลวทั้งสิ้น

 

ก่อนที่ทุกอย่างจะแย่ไปกว่านี้ ได้มีเกษตรกรฝรั่งเศส 2 คน ชื่อ Leo Laliman และ Gaston Bazille รวมถึงนักพฤษศาสตร์ชาวอเมริกา ที่เริ่มคิดวิธีการใช้ต้นองุ่นสายพันธุ์อเมริกา ที่มีภูมิต้านทานเพลี้ย phylloxera อยู่แล้วตั้งแต่กำเนิน ปลูกพล็อตรอบวินยาร์ดไร่องุ่นฝรั่งเศส ทำให้เจ้าแมลงร้ายไม่สามารถเข้ามายุ่งกับองุ่นสายพันธุ์ยุโรปที่ไร้ซึ่งภูมิต้านทานต่อศัตรูพืชชนิดนี้ครับ… ซึ่งก็ปรากฎว่าประสบความสำเร็จ เกษตรกรค่อยๆ ควบคุมการระบาดของเจ้าเพลี้ยมรณะนี้ได้

 

พร้อมกันนั้นนักวิทยาศาสตร์ก็เริ่มเข้าใจวัฒจักรชีวิตของ phylloxera มากขึ้น โดยรู้ว่าหากใช้สารเคมี ฉีดป้องกันก่อนที่จะมีการวางไข่ ก็จะสามารถป้องกันต้นองุ่นจากเพลี้ยชนิดนี้ได้ รวมถึงวิธีการป้องกันรากต้นองุ่นก่อนที่จะปลูกองุ่น ที่เรียกว่า resistant rootstocks  แต่หากต้นองุ่นโดนเจ้าแมลงร้ายโจมตีแล้ว ทางแก้อย่างเดียวคือต้องกำจัด ถอนทิ้ง เผา ก่อนที่จะกระจายไปทั่ววินยาร์ดครับ

 

ผลกระทบระยะยาว

 

แม้เหตุการณ์ครั้งนั้นจะจบสิ้นไปยาวนานเป็น 100 ปี แต่เจ้า phylloxera ก็ยังเป็นศัตรูอันดับ 1 ของวินยาร์ดทั่วยุโรป เพราะเจ้าแมลงนี้ไม่ได้หายไปแบบ 100% ด้วยขนาดตัวที่เล็กจิ๋ว และความสามารถในการปรับตัว จึงทำให้คนปลูกไวน์ต้องพิถีพิถันทุกขั้นตอนในการปลูกองุ่น

 

ความน่าเสียดายสุดๆ ก็คือ เพราะวิกฤติครั้งนี้ จึงทำให้เถาองุ่นที่เก่าแก่หายไปค่อนข้างเยอะ เพราะเถาองุ่นถูกทำลายโดยเพลี้ยไปแล้วเมื่อ 150 กว่าปีที่แล้ว 

 

แต่หากมองอีกด้านหนึ่งของเหรียญ Great French Wine Blight ก็เป็นดังไฟลนก้น ให้กับอุตสาหกรรมไวน์ฝรั่งเศสทั้งหมด ในการลุกขึ้นมาใส่ใจ พัฒนาการปลูกองุ่นให้ดีขึ้น จนกลับมาเป็นศูนย์กลางไวน์ทั่วโลกได้อย่างไม่น่าเชื่อครับ!! 

Our favourite wines

"ไวน์" ไวน์แมน - ไวน์แดง ขาว สปาร์กลิงไวน์

สั่งไวน์ ไวน์แดง ไวน์ขาว สปาร์กลิงไวน์ กับแพลตฟอร์มไวน์ชั้นนำเเห่งประเทศไทย เลือกจากไวน์คัดสรรอย่างดีกว่า 3000 ตัว ตั้งแต่ราคาเบาๆดื่มง่าย จนถึงไวน์ขั้นเทพระดับ Grand Cru มีแสตมป์ทุกขวด

บริษัทขอสงวนสิทธิ์การสั่งให้สำหรับแค่ลูกค้านิติบุคคลเท่านั้น ผู้สั่งต้องรับสินค้าด้วยตัวเอง พนักงานทางร้านจะต้องมีการพบหน้าผู้สั่งและตรวจสอบบัตรประชาชนและอายุโดยไม่มีข้อยกเว้น องค์ประกอบภาพและคำอธิบายทั้งหมดไม่ได้บ่งบอกถึงประเภทและสรรพคุณของเครื่องดื่ม สั่งไวน์ ไวน์แดง ไวน์ขาว สปาร์กลิงไวน์ กับแพลตฟอร์มไวน์ชั้นนำเเห่งประเทศไทย เลือกจากไวน์คัดสรรอย่างดีกว่า 3000 ตัว ตั้งแต่ราคาเบาๆดื่มง่าย จนถึงไวน์ขั้นเทพระดับ Grand Cru มีแสตมป์ทุกขวด หลายคนที่คุ้นเคยกับ Chardonnay สไตล์อเมริกัน ออสเตรเลีย ที่มักหมักหรือเอจไวน์ในถังโอ๊ค ทำให้ Chardonnay เป็นสไตล์ full-bodied โน้ตเนย วานิลลาชัดเจน อาจตั้งข้อสงสัยว่า Chardonnay ไม่เห็นมี acidity เลย! นั่นเพราะไวน์ขาวได้ผ่านกระบวนการที่เรียกว่า  ‘Malolactic Fermentation’ (อ่านเพิ่มเติมในบทความอธิบาย acidity ได้เลยครับ) ไวน์จึงมีรสหวาน และมันมากขึ้น acidity จึงไม่ชัด แต่โดยธรรมชาติแล้ว Chardonnay มี acidity ที่ค่อนข้างสูงเลยครับ! สังเกตได้จาก Chardonnay จากเบอร์กันดีแสงโด่งดังในเมือง Chablis ที่ไม่ใช้การหมัก และเอจในถึงโอ๊คเลย จะได้ไวน์ที่รสชาติแตกต่าง ฟรุ๊ตตี้ สดชื่น เต็มไปด้วยแร่ธาตุ acidity สดใสครับหลายคนที่คุ้นเคยกับ Chardonnay สไตล์อเมริกัน ออสเตรเลีย ที่มักหมักหรือเอจไวน์ในถังโอ๊ค ทำให้ Chardonnay เป็นสไตล์ full-bodied โน้ตเนย วานิลลาชัดเจน อาจตั้งข้อสงสัยว่า Chardonnay ไม่เห็นมี acidity เลย! นั่นเพราะไวน์ขาวได้ผ่านกระบวนการที่เรียกว่า  ‘Malolactic Fermentation’ (อ่านเพิ่มเติมในบทความอธิบาย acidity ได้เลยครับ) ไวน์จึงมีรสหวาน และมันมากขึ้น acidity จึงไม่ชัด แต่โดยธรรมชาติแล้ว Chardonnay มี acidity ที่ค่อนข้างสูงเลยครับ! สังเกตได้จาก Chardonnay จากเบอร์กันดีแสงโด่งดังในเมือง Chablis ที่ไม่ใช้การหมัก และเอจในถึงโอ๊คเลย จะได้ไวน์ที่รสชาติแตกต่าง ฟรุ๊ตตี้ สดชื่น เต็มไปด้วยแร่ธาตุ acidity สดใสครับหลายคนที่คุ้นเคยกับ Chardonnay สไตล์อเมริกัน ออสเตรเลีย ที่มักหมักหรือเอจไวน์ในถังโอ๊ค ทำให้ Chardonnay เป็นสไตล์ full-bodied โน้ตเนย วานิลลาชัดเจน อาจตั้งข้อสงสัยว่า Chardonnay ไม่เห็นมี acidity เลย! นั่นเพราะไวน์ขาวได้ผ่านกระบวนการที่เรียกว่า  ‘Malolactic Fermentation’ (อ่านเพิ่มเติมในบทความอธิบาย acidity ได้เลยครับ) ไวน์จึงมีรสหวาน และมันมากขึ้น acidity จึงไม่ชัด แต่โดยธรรมชาติแล้ว Chardonnay มี acidity ที่ค่อนข้างสูงเลยครับ! สังเกตได้จาก Chardonnay จากเบอร์กันดีแสงโด่งดังในเมือง Chablis ที่ไม่ใช้การหมัก และเอจในถึงโอ๊คเลย จะได้ไวน์ที่รสชาติแตกต่าง ฟรุ๊ตตี้ สดชื่น เต็มไปด้วยแร่ธาตุ acidity สดใสครับหลายคนที่คุ้นเคยกับ Chardonnay สไตล์อเมริกัน ออสเตรเลีย ที่มักหมักหรือเอจไวน์ในถังโอ๊ค ทำให้ Chardonnay เป็นสไตล์ full-bodied โน้ตเนย วานิลลาชัดเจน อาจตั้งข้อสงสัยว่า Chardonnay ไม่เห็นมี acidity เลย! นั่นเพราะไวน์ขาวได้ผ่านกระบวนการที่เรียกว่า  ‘Malolactic Fermentation’ (อ่านเพิ่มเติมในบทความอธิบาย acidity ได้เลยครับ) ไวน์จึงมีรสหวาน และมันมากขึ้น acidity จึงไม่ชัด แต่โดยธรรมชาติแล้ว Chardonnay มี acidity ที่ค่อนข้างสูงเลยครับ! สังเกตได้จาก Chardonnay จากเบอร์กันดีแสงโด่งดังในเมือง Chablis ที่ไม่ใช้การหมัก และเอจในถึงโอ๊คเลย จะได้ไวน์ที่รสชาติแตกต่าง ฟรุ๊ตตี้ สดชื่น เต็มไปด้วยแร่ธาตุ acidity สดใสครับหลายคนที่คุ้นเคยกับ Chardonnay สไตล์อเมริกัน ออสเตรเลีย ที่มักหมักหรือเอจไวน์ในถังโอ๊ค ทำให้ Chardonnay เป็นสไตล์ full-bodied โน้ตเนย วานิลลาชัดเจน อาจตั้งข้อสงสัยว่า Chardonnay ไม่เห็นมี acidity เลย! นั่นเพราะไวน์ขาวได้ผ่านกระบวนการที่เรียกว่า  ‘Malolactic Fermentation’ (อ่านเพิ่มเติมในบทความอธิบาย acidity ได้เลยครับ) ไวน์จึงมีรสหวาน และมันมากขึ้น acidity จึงไม่ชัด แต่โดยธรรมชาติแล้ว Chardonnay มี acidity ที่ค่อนข้างสูงเลยครับ! สังเกตได้จาก Chardonnay จากเบอร์กันดีแสงโด่งดังในเมือง Chablis ที่ไม่ใช้การหมัก และเอจในถึงโอ๊คเลย จะได้ไวน์ที่รสชาติแตกต่าง ฟรุ๊ตตี้ สดชื่น เต็มไปด้วยแร่ธาตุ acidity สดใสครับ
preloader