fbpx

งดบริการให้ผู้ที่อายุต่ำกว่า 20 ปี อ่านนโยบายการขาย คลิก

ติดต่อเราเพื่อสอบถาม

แอด LINE สั่งเลย

*สำหรับแค่ลูกค้านิติบุคคลเท่านั้น

Please add Image or Slider Widget in Appearance Widgets Page Banner.
If you would like to use different Widgets on each page, we reccommend Widget Context Plugin.

The judgement of Paris – พิพากพลิกโลกไวน์

August 14, 2020

สมัยก่อน โลกของไวน์ไม่ได้เปิดกว้างเหมือนกับทุกๆ วันนี้ ด้วยกฎเหล็กที่แม้จะไม่ได้บัญญัติไว้เป็นรายลักษณ์อักษร แต่ทุกคนก็รู้กันดี ว่า ‘แม้ว่าทุกที่จะผลิตไวน์ของตนเองได้ แต่ไวน์ชั้นดีจริงๆ ผลิตได้ที่เดียวในโลกเท่านั้น ได้แก่ประเทศฝรั่งเศสนั่นเอง!’ จนกระทั้งเหตุการ์ชี้ชะตา ที่ไม่มีใครคาดคิดเกิดขึ้นในปี 1976 จากการแข่งขันชิมไวน์ธรรมดาๆ ระหว่างไวน์อเมริกา และฝรั่งเศส ที่มีนักข่าวไม่กี่คนมาเข้าร่วม กลายเป็นจุดเปลี่ยนแห่งไวน์โลกใหม่ พิสูจน์ว่าไวน์คุณภาพเยี่ยมสามารถมาจากที่อื่นนอกเหนือจากฝรั่งเศส เหตุการณ์ครั้งนี้ถูกขนานนามว่า ‘The judgement of Paris – 1976’

ความเป็นมาของการแข่งขันชิมไวน์ (Wine Tasting)

การแข่งขันชิมไวน์มีมาตั้งแต่สมัย 1960s แล้ว จัดขึ้นโดยกลุ่มนักผลิตไวน์จากแคลิฟอร์เนีย ผู้ที่ชื่นชอบในรสชาติไวน์ฝรั่งเศสอย่าง Bordeaux และ Burgundy จึงให้ไวน์ฝรั่งเศสเป็นดั่งธงชัย และมั่นหมายว่าวันหนึ่ง ตนจะสามารถผลิตไวน์ที่มีคุณภาพเท่าเทียมหรือเหนือกว่าไวน์เหล่านั้น โดยการแข่งขันชิมไวน์ถูกจัดขึ้นโดยผู้ชิม หรือกรรมการ จะไม่รู้ว่าไวน์ที่ตนเองชิมนั้นมาจากประเทศใด หรือใครเป็นผู้ผลิต จึงเรียกว่า ‘blind tasting’ เพื่อให้การแข่งขันได้ผลที่เที่ยงตรง ไม่มีการลำเอียงที่สุดนั้นเองครับโดยตั้งแต่ช่วง 1960 ก็เห็นได้ชัดว่าอเมริกายังต้องพัฒนาไวน์ของตนอีกยาวไกล จนกระทั้งเข้าสู่ปี 1970 ที่ไวน์คุณภาพจากอเมริกา เริ่มออกมาให้โลกยลโฉมมากขึ้น แต่ก็ยังไม่ถูกยอมรับ เพราะถึงแม้ว่ากรรมการจะต้องอยู่ในขั้นตอนของการ blind tasting แต่กรรมการก็ยังสามารถรับรู้รสของไวน์ฝรั่งเศสและตัดสินโอนเอียงตามความต้องการของตนได้ อีกทั้งหลายคนถกเถียงว่าคุณภาพของไวน์ฝรั่งเศสจะถดถอยจากการขนส่งข้ามน้ำข้ามทะเล จึงทำให้ผลไม่เคยเป็นที่ยอมรับ… จนกระทั้งในปี 1976

เริ่มต้นคำตัดสิน The Judgement of Paris

มีการแข่งขัน Blind Tasting เกิดขึ้นอีกครั้ง คราวนี้จัดที่ฝรั่งเศส ในวันที่ 24 พฤษภาคม ปี 1976 โดยมี Steven Spurrier พ่อค้าไวน์ชาวอังกฤษเป็นพ่องาน ซึ่งเจตนารมณ์ของนาย Spurrier ก็ไม่ได้เที่ยงตรงตั้งแต่แรก เพราะโอนเอียงไปเข้าข้างฝรั่งเศสเสียเต็มประตู ด้วยความที่เจ้าตัวขายและส่งออกไวน์ฝรั่งเศส จึงต้องการจัดการแข่งขันเพื่อยืนยันความเหนือชั้นของไวน์ฝรั่งเศสนั่นเอง

โดยมีคณะกรรมการทั้งสิ้น 9 ท่าน แต่ละคนจัดเป็นหัวกะทิ creme de la creme ของวงการณ์ไวน์ฝรั่งเศสทั้งสิ้น

บรรยากาศในงานไม่มีอะไรน่าตื่นเต้นแต่อย่างใด มีนักข่าวเพียงหนึ่งหยิบมือเท่านั้น George Taber นักข่าวจากนิตยาสาร Time ถึงกับกล่าวว่าเขาแทบจะมั่นใจว่าฝรั่งเศสจะชนะเหมือนเช่นทุกครั้งที่ผ่านมา และทั้งหมดนี้ก็คงไม่ได้กลายเป็นข่าวใหญ่อะไร

“Obviously, the French wines were going to win, it’s going to be a non-story.”

คำตัดสิน The Judgement of Paris

เริ่มต้นกันที่การชิมไวน์ขาวก่อน เมื่อ Chardonney ของแคลิฟอร์เนีย ปะทะกับ Chardonney ชั้นเยี่ยมจากเบอร์กันดี ประเทศฝรั่งเศส ผลปรากฎว่าไม่ใช่แค่เพียงอันดับที่ 1 ที่ตกเป็นของอเมริกา หากแต่อันดับที่ 3 และ 4 ก็กลายเป็นของอเมริกาเช่นกัน!

Steven Spurrier ซึ่งรู้ผลก่อนถึงกับเหงือตก! เขาแอบนำผลไปบอกกรรมการว่ารางวัลที่ 1 ตกเป็นของอเมริกาเสียแล้ว ฉะนั้นรอบไวน์แดง ยังไงฝรั่งเศสก็จะต้องชนะ! เพราะนักดื่มหลายคนให้ความสำคัญกับไวน์แดงมากกว่า เดิมพันจึงสูงมาก!

Blind Tasting ในรอบนี้จึงมีการถกเถียงเกิดขึ้น เสียงเริ่มแตก และถกเถียงกันว่ารสชาติไวน์ที่ชิมไป เป็นของฝรั่งเศสจริงๆ หรือไม่ ซึ่งผลออกมา… ไวน์แดงจากแคลิฟอร์เนียเป็นฝ่ายชนะ!

สรุปผล The Judgement of Paris

ไวน์ขาว Chardonnays

อันดับ 1 – ไวน์อเมริกา California (Napa Valley)- Chateau Montelena (1973)

อันดับ 2 – ไวน์ฝรั่งเศส Meursault Charmes Roulot (1973)

อันดับ 3 – ไวน์อเมริกา Chalone Vineyard (1974)

ไวน์แดง Cabernet Sauvignon

อันดับ 1 – ไวน์อเมริกา California (Napa Valley)- Stag’s Leap Wine Cellars (1973)

อันดับ 2 – ไวน์ฝรั่งเศส Château Mouton-Rothschild (1970)

อันดับ 3 – ไวน์ฝรั่งเศส Château Montrose (1970)

ไม่ใช่แค่นั้นนะครับ! นอกจากอเมริกายังคว้าอันดับ 1 ทั้งไวน์แดงและไวน์ขาวได้แล้ว ไวน์จากอเมริกาส่วนใหญ่ถูกจัดอยู่ในอันดับที่สูงในสัดส่วนที่เยอะกว่าไวน์จากฝรั่งเศส ทำให้เกิดความฮือฮาอย่างมากในวงการไวน์ ที่นอกจากนักชิมไวน์มือวางอันดับต้นๆ ของฝรั่งเศส จะแยกแยะไวน์ของประเทศตนเองไม่ออกแล้ว ยังแสดงความชื่นชอบไวน์จากอเมริกาออกมาอย่างชัดเจน

แน่นอนว่าฝรั่งเศสที่ครองอันดับหนึ่งมาตลอด จะต้องไม่พอใจเป็นธรรมดา! นอกจากจะพยายามยับยั้งการเผยแพร่คำตัดสินนี้สู่สาธารณะชน ยังแบน Steven Spurrier จากการจัดการแข่งขันชิมไวน์ถึง 1 ปี… แต่ก็ไม่เป็นผลสำเร็จ เพราะนักข่าวจากนิตยสาร Time ได้ทำการตีแผ่ข่าวการปราชัยของฝรั่งเศสนี้ จนสร้างกระแสโครมครามไปทั่วโลก

นอกจากนั้นยังนำพาไปสู่การขุดคุ้ยผลการตัดสินครั้งที่แล้วๆ มา ที่ถูกจัดขึ้นที่อเมริกา ทำให้เห็นว่าผลที่ออกมา มีบางครั้งที่ไวน์จากอเมริกาชนะ แต่ผลการตัดสินไม่เป็นที่ยอมรับโดยทางการฝรั่งเศส อ้างการขนส่งทางทะเลที่ยาวนานทำให้ไวน์ฝรั่งเศสเสียรสชาติ ไปจนถึงกรรมการชาวอเมริกันแสดงความลำเอียงในการ blind tasting เป็นต้น

โดยคำตัดสินต่างๆ ที่ถูกนำขึ้นมาพิพาทอีกครั้งได้แก่

– New York Tasting ในปี 1973

– San Diego Tasting ในปี 1975

ความเปลี่ยนแปลงจาก The Judgement of Paris

ผลการเปลี่ยนแปลงที่ตรงที่สุดคือ การเปลี่ยนแปลงมาตรฐานในการแข่งขันชิมไวน์ ซึ่งนอกจากจะจัดอันดับแล้วจะจัดคะแนนเป็นเหรียญที่ไวน์ได้รับ เช่น bronze, silver gold และ double gold ซึ่งอันดับอาจไม่สำคัญเท่าไวน์ตัวไหนได้เหรียญอะไร เพราะสุดท้ายการชิมไวน์ก็คือรสนิยมของแต่ละคนนั้นเองครับ โดยตอนนี้ส่วนใหญ่จะให้รางวัลเป็นรายหัวผู้ผลิต (Wineries) ไปเลย ไม่ได้ให้เป็นขวดๆ ครับ

หรืออาจมีการตัดสินอีกแบบหนึ่ง แม้จะไม่ค่อยเป็นที่นิยม แต่อาจจัดขึ้นใน Convention ต่างๆ ที่ต้องการผลตัดสินของผู้บริโภคโดยตรง โดยทำการ Blind Tasting กับนักดื่มหลายๆ คน แล้วจึงนำผลตัดสินมาจัดลำดับ ตั้งแต่ล่าง กลาง และสูง เป็นต้นครับ

แม้เหตุการณ์นี้อาจจุดประกายสงครามเย็นระหว่างไวน์อเมริกัน VS ไวน์ฝรั่งเศส ที่อาจดำเนินมาจนถึงทุกวันนี้ หากแต่ผมเชื่อว่าการแข่งขันเล็กๆ น้อยๆ จะช่วยผลักดัน ยกระดับสินค้าให้ดียิ่งๆ ขึ้นไป  ฝรั่งเศสเริ่มเปิดรับวิวัฒนาการยุคใหม่ในการผลิต เสริมสร้างรสชาติให้ไวน์มากขึ้น จนสุดท้ายแล้วผู้ชนะที่แท้จริงคือผู้บริโภค ที่ปัจจุบันสามารถเข้าถึงไวน์คุณภาพได้จากหลากหลายแหล่ง หลากหลายผู้ผลิตมากขึ้น… ผู้คนตัดสินไวน์ที่ตัวไวน์จริงๆ ไม่ใช่เพียงประเทศที่ไวน์ถูกผลิคนั่นเองครับ!

Our favourite wines

"ไวน์" ไวน์แมน - ไวน์แดง ขาว สปาร์กลิงไวน์

สั่งไวน์ ไวน์แดง ไวน์ขาว สปาร์กลิงไวน์ กับแพลตฟอร์มไวน์ชั้นนำเเห่งประเทศไทย เลือกจากไวน์คัดสรรอย่างดีกว่า 3000 ตัว ตั้งแต่ราคาเบาๆดื่มง่าย จนถึงไวน์ขั้นเทพระดับ Grand Cru มีแสตมป์ทุกขวด

บริษัทขอสงวนสิทธิ์การสั่งให้สำหรับแค่ลูกค้านิติบุคคลเท่านั้น ผู้สั่งต้องรับสินค้าด้วยตัวเอง พนักงานทางร้านจะต้องมีการพบหน้าผู้สั่งและตรวจสอบบัตรประชาชนและอายุโดยไม่มีข้อยกเว้น องค์ประกอบภาพและคำอธิบายทั้งหมดไม่ได้บ่งบอกถึงประเภทและสรรพคุณของเครื่องดื่ม สั่งไวน์ ไวน์แดง ไวน์ขาว สปาร์กลิงไวน์ กับแพลตฟอร์มไวน์ชั้นนำเเห่งประเทศไทย เลือกจากไวน์คัดสรรอย่างดีกว่า 3000 ตัว ตั้งแต่ราคาเบาๆดื่มง่าย จนถึงไวน์ขั้นเทพระดับ Grand Cru มีแสตมป์ทุกขวด หลายคนที่คุ้นเคยกับ Chardonnay สไตล์อเมริกัน ออสเตรเลีย ที่มักหมักหรือเอจไวน์ในถังโอ๊ค ทำให้ Chardonnay เป็นสไตล์ full-bodied โน้ตเนย วานิลลาชัดเจน อาจตั้งข้อสงสัยว่า Chardonnay ไม่เห็นมี acidity เลย! นั่นเพราะไวน์ขาวได้ผ่านกระบวนการที่เรียกว่า  ‘Malolactic Fermentation’ (อ่านเพิ่มเติมในบทความอธิบาย acidity ได้เลยครับ) ไวน์จึงมีรสหวาน และมันมากขึ้น acidity จึงไม่ชัด แต่โดยธรรมชาติแล้ว Chardonnay มี acidity ที่ค่อนข้างสูงเลยครับ! สังเกตได้จาก Chardonnay จากเบอร์กันดีแสงโด่งดังในเมือง Chablis ที่ไม่ใช้การหมัก และเอจในถึงโอ๊คเลย จะได้ไวน์ที่รสชาติแตกต่าง ฟรุ๊ตตี้ สดชื่น เต็มไปด้วยแร่ธาตุ acidity สดใสครับหลายคนที่คุ้นเคยกับ Chardonnay สไตล์อเมริกัน ออสเตรเลีย ที่มักหมักหรือเอจไวน์ในถังโอ๊ค ทำให้ Chardonnay เป็นสไตล์ full-bodied โน้ตเนย วานิลลาชัดเจน อาจตั้งข้อสงสัยว่า Chardonnay ไม่เห็นมี acidity เลย! นั่นเพราะไวน์ขาวได้ผ่านกระบวนการที่เรียกว่า  ‘Malolactic Fermentation’ (อ่านเพิ่มเติมในบทความอธิบาย acidity ได้เลยครับ) ไวน์จึงมีรสหวาน และมันมากขึ้น acidity จึงไม่ชัด แต่โดยธรรมชาติแล้ว Chardonnay มี acidity ที่ค่อนข้างสูงเลยครับ! สังเกตได้จาก Chardonnay จากเบอร์กันดีแสงโด่งดังในเมือง Chablis ที่ไม่ใช้การหมัก และเอจในถึงโอ๊คเลย จะได้ไวน์ที่รสชาติแตกต่าง ฟรุ๊ตตี้ สดชื่น เต็มไปด้วยแร่ธาตุ acidity สดใสครับหลายคนที่คุ้นเคยกับ Chardonnay สไตล์อเมริกัน ออสเตรเลีย ที่มักหมักหรือเอจไวน์ในถังโอ๊ค ทำให้ Chardonnay เป็นสไตล์ full-bodied โน้ตเนย วานิลลาชัดเจน อาจตั้งข้อสงสัยว่า Chardonnay ไม่เห็นมี acidity เลย! นั่นเพราะไวน์ขาวได้ผ่านกระบวนการที่เรียกว่า  ‘Malolactic Fermentation’ (อ่านเพิ่มเติมในบทความอธิบาย acidity ได้เลยครับ) ไวน์จึงมีรสหวาน และมันมากขึ้น acidity จึงไม่ชัด แต่โดยธรรมชาติแล้ว Chardonnay มี acidity ที่ค่อนข้างสูงเลยครับ! สังเกตได้จาก Chardonnay จากเบอร์กันดีแสงโด่งดังในเมือง Chablis ที่ไม่ใช้การหมัก และเอจในถึงโอ๊คเลย จะได้ไวน์ที่รสชาติแตกต่าง ฟรุ๊ตตี้ สดชื่น เต็มไปด้วยแร่ธาตุ acidity สดใสครับหลายคนที่คุ้นเคยกับ Chardonnay สไตล์อเมริกัน ออสเตรเลีย ที่มักหมักหรือเอจไวน์ในถังโอ๊ค ทำให้ Chardonnay เป็นสไตล์ full-bodied โน้ตเนย วานิลลาชัดเจน อาจตั้งข้อสงสัยว่า Chardonnay ไม่เห็นมี acidity เลย! นั่นเพราะไวน์ขาวได้ผ่านกระบวนการที่เรียกว่า  ‘Malolactic Fermentation’ (อ่านเพิ่มเติมในบทความอธิบาย acidity ได้เลยครับ) ไวน์จึงมีรสหวาน และมันมากขึ้น acidity จึงไม่ชัด แต่โดยธรรมชาติแล้ว Chardonnay มี acidity ที่ค่อนข้างสูงเลยครับ! สังเกตได้จาก Chardonnay จากเบอร์กันดีแสงโด่งดังในเมือง Chablis ที่ไม่ใช้การหมัก และเอจในถึงโอ๊คเลย จะได้ไวน์ที่รสชาติแตกต่าง ฟรุ๊ตตี้ สดชื่น เต็มไปด้วยแร่ธาตุ acidity สดใสครับหลายคนที่คุ้นเคยกับ Chardonnay สไตล์อเมริกัน ออสเตรเลีย ที่มักหมักหรือเอจไวน์ในถังโอ๊ค ทำให้ Chardonnay เป็นสไตล์ full-bodied โน้ตเนย วานิลลาชัดเจน อาจตั้งข้อสงสัยว่า Chardonnay ไม่เห็นมี acidity เลย! นั่นเพราะไวน์ขาวได้ผ่านกระบวนการที่เรียกว่า  ‘Malolactic Fermentation’ (อ่านเพิ่มเติมในบทความอธิบาย acidity ได้เลยครับ) ไวน์จึงมีรสหวาน และมันมากขึ้น acidity จึงไม่ชัด แต่โดยธรรมชาติแล้ว Chardonnay มี acidity ที่ค่อนข้างสูงเลยครับ! สังเกตได้จาก Chardonnay จากเบอร์กันดีแสงโด่งดังในเมือง Chablis ที่ไม่ใช้การหมัก และเอจในถึงโอ๊คเลย จะได้ไวน์ที่รสชาติแตกต่าง ฟรุ๊ตตี้ สดชื่น เต็มไปด้วยแร่ธาตุ acidity สดใสครับ